ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 

 

รวมลิ้งค์ เว็บไซต์ธรรมะ ที่น่าสนใจ
  THAIWARE Dharma | รายละเอียด บทความ บทสวด บทคาถา ธรรมะ
เลือกขนาดตัวอักษร ขนาดตัวอักษร :  ก   ก   ก   ก 

ระวัง การอั้นปัสสาวะ และ อุจจาระ นานๆ มีผลเสียมากกว่าที่คิด !

 

    Share  
 

 

ผลเสียของการอั้นปัสสาวะ (อั้นเยี่ยว) นานๆ

ใครที่อั้นปัสสาวะจนมีความรู้สึกว่าหายปวด อย่าเข้าใจผิดคิดว่าร่างกายของเราแข็งแรงนะ เพราะว่าสภาวะเช่นนั้น กำลังก่อความพินาศฉิบหายให้กับร่างกายของเรา นับตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โลหิตพิการ ตับร้อน ไตร้อน โรคภูมิแพ้ กลิ่นตัวแรง นิ่ว กระเพาะปัสสาวะเกร็ง เป็นต้น รวมไปถึงทำให้ผลของ การปฏิบัติธรรม ไม่ก้าวหน้าอีกด้วย

1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผลของการอั้นปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและอาการเบื้องต้น ก็คือ เวลาปัสสาวะจนรู้สึกว่าหมดแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปไม่ถึง ๕ นาที กลับปวดปัสสาวะอีก ยิ่งไปกว่านั้น หากกระเพาะปัสสาวะอักเสบนาน ติดต่อกันเป็นอาทิตย์ พอปัสสาวะว่าหมดแล้ว ทันทีที่ลุกขึ้นมันจะหยดติ๋งๆ เลย เพราะเมื่อเราอั้นปัสสาวะนานๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมย้อนกลับ (Reabsorb) เข้าไปในเส้นเลือดแล้วก็ถูกขับออกมาใหม่ เพราะฉะนั้นจำนวนปัสสาวะออกมาใหม่เท่าไร ก็ฟ้องว่ามันได้ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดเท่านั้น นึกเอาก็แล้วกันว่ามีอันตรายหรือไม่

บางคนมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้พบมากที่บริเวณทวารหนัก แล้วเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะจนมาถึงกระเพาะปัสสาะ เมื่ออั้นปัสสาวะไว้นานๆ เชื้อโรคจึงมีช่วงเวลาในการแบ่งตัวและเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมาก จนทำให้มีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือขัดเบา และแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ บางคนอาจมีปัสสาวะขุ่นหรือมีเลือดปน บางคนเชื้อกระจายผ่านท่อไตขึ้นมาที่กรวยไต ทำให้มีอาการไข้สูงหนาวสั่น ปวดที่บริเวณสีข้างด้านที่มีการติดเชื้อ

2. โลหิตพิการ

ปัสสาวะของคนปกติ มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆสังเกตดูง่ายๆ จากเวลาที่เราปัสสาวะ ถ้ามันกระเด็นไปโดนผิวหนังจะรู้สึกแสบคัน เด็กผู้ชายเข้าใจเรื่องนี้ดี เพราะว่าเวลายืนปัสสาวะมักระเด็นไปถูกหน้าแข้ง รู้สึกแสบๆ คันๆ ที่หน้าแข้ง ยิ่งในหน้าหนาวอาจจะทำให้ผิวหน้าแข้งแตก

ปัสสาวะมีคุณสมบัติเป็นกรด แต่โดยธรรมชาติเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวรวมทั้งน้ำเหลืองคุณสมบัติเป็นด่างอ่อนๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับ (Reabsorb) เข้าไปในเส้นเลือด จะกลายเป็นกรดขึ้นมา มีผลให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเหลืองย่ำแย่ลง ปริมาณปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปยิ่งมากและนานเท่าใด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเหลืองก็จะย่ำแย่ลงเท่านั้น นี่คือสาเหตุที่แท้จริงของโลหิตพิการ และเม็ดเลือดน้อย

3. ตับร้อนไตร้อน

ตับทำหน้าที่กรองและทำลายสารพิษ เช่นสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ผงชูรสเป็นต้น มีอะไรแปลกปลอมที่เป็นพิษปนเข้าไปในร่างกายตับจะกรองและทำลายก่อน ส่วนไตทำหน้าที่ขับของเสียที่เป็นผลผลิตจากร่างกาย และกรองสารพิษที่หลงเหลือออกจากเส้นเลือด พูดง่ายๆ ก็คือไตทำหน้าที่กรองโลหิตให้บริสุทธิ์

เมื่ออั้นปัสสาวะนานๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือด ก็กลายเป็นของเสียที่ร่างกายต้องทำลายและขับออก ของเสียในเลือดที่เพิ่มมากขึ้น ตับต้องทำงานหนักมากขึ้นตับจึงร้อน ไตทำงานหนักมากขึ้นไตจึงร้อน ยิ่งอั้นปัสสาวะนานเท่าไร ตับและไตต้องทำงานหนักมากขึ้นตามไปเท่านั้น

4. โรคภูมิแพ้

เมื่ออั้นปัสสาวะนานๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือดกลายเป็นทั้งเนื้อทั้งตัวแช่ปัสสาวะ แล้วร่างกายจะย่ำแย่ขนาดไหน เนื้อเราก็เช่นกัน แช่อยู่ในปัสสาวะที่ถูกดูดซึงย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือดนานๆ ปัสสาวะได้ซึมซาบปนเข้าเนื้อของเราเหมือนเนื้อแดดเดียวนั้นเอง

ผลสุดท้ายของเสียในปัสสาวะทำให้ร่างกายของเราทำงานผิดปกติ เช่นลมพิษก็เป็นง่าย สิวก็ขึ้นง่าย น้ำเหลืองก็เสียง่าย เม็ดผื่นที่สองข้างขาหนีบขึ้นง่าย ภูมิแพ้ บางครั้งยุงกัดก็บวม บางครั้งกินอาหารทะเลหรือกินอะไรผิดไปหน่อยผื่นเห่อขึ้นมาเชียว บางทีอึดอัดหายใจไม่ค่อยออก เป็นต้น

เมื่อคอยเฝ้าสังเกตก็ทราบถึงสาเหตุว่าเวลาทายาไปแล้วก็หายได้พักหนึ่ง เมื่อเดินทางแล้วรถไปติดจึงต้องอั้นปัสสาวะ พอกลับมารู้สึกหน่วงๆ หน้าท้องแต่คืนนั้นยังไม่เป็นไร พอเข้ามาอีกคืนเท่านั้น คันขึ้นมาเลย กว่าจะทราบถึงสาเหตุว่า อาการต่างๆ เกิดจากการอั้นปัสสาวะ ก็เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุประมาณ ๒๐ ปี มาจับทิศทางได้ถูกทางเมื่ออายุ ๔๐ ปี ทรมานอยู่ ๒๐ ปี เพราะว่าช่วงวัยรุ่นเป็นนักกีฬา ลงสนามไปแข่งกีฬาตั้งแต่บ่ายโมง กว่าจะออกจากสนามได้ก็ประมาณ ๕ โมงเย็น จึงต้องอั้นปัสสาวะตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็ทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ และติดนิสัยอั้นปัสสาวะครั้งละนานๆ ตั้งแต่สมัยวัยรุ่น จึงต้องมาลำบากโดยใช่เหตุเช่นนี้

5. กลิ่นตัวแรง

เมื่ออั้นปัสสาวะนานๆ ของเสียที่ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือด กลายเป็นทั้งเนื้อทั้งตัวแช่ปัสสาวะ ทำให้คนนั้นมีกลิ่นตัวแรง ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คนอั้นปัสสาวะเหมือนทั่วร่างกายเป็นกระโถน ใส่ปัสสาวะเคลื่อนที่ได้นั่นเอง

6. นิ่ว

เมื่ออั้นปัสสาวะนานๆ แคลเซี่ยมที่เป็นส่วนประกอบในปัสสาวะจะตกค้างอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ ผลต่อไปข้างหน้าคือ เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในท่อไต หรือนิ่วในไตก็ได้ ใครที่เคยเทกระโถนให้ผู้เฒ่า คงจะสังเกตเห็นว่ากระโถนที่ใช้ไม่เกินหนึ่งเดือน ก็จะมีคราบหินปูนเกาะคราบหินปูนนั้นคือแคลเซียมตกค้างจากปัสสาวะนั้นเอง

7. กระเพาะปัสสาวะเกร็ง

ใครที่อั้นปัสสาวะไว้บ่อยๆ กล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะจะเกร็ง เมื่อเกร็งแล้วมันจึงไม่ฟู ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดตัวมีขนาดเล็กลง ความสามารถในการเก็บปัสสาวะของมันก็ลดลง ก็จะทำให้เราเป็นโรคปวดปัสสาวะบ่อย

วิธีป้องกันก็อย่าไปอั้นปัสสาวะไว้นานๆ และวิธีแก้ไขโดยการออกกายบริหารให้มากสักหน่อย จะกระโดดเชื่อก หรือเตะลม หรือโยคะหรืออะไรก็ตามที แต่ต้องทำให้มากพอ อย่างน้อยต้องต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง เมื่อคลายตัวเต็มที่แล้ว ความสามารถในการเก็บปัสสาวะ ก็จะกลับคืนมาเก็บปัสสาวะได้มากขึ้นจนเป็นปกติตามเดิม วิธีที่ได้ผลเร็วมากอีกวิธีหนึ่ง คือ หากวันไหนอั้นปัสสาวะนานๆ ก่อนนอนให้ใครที่นวดเป็น นวดบริเวณท้องน้อยและบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (กระดูกที่อยู่ระหว่างก้นทั้งสองข้าง) จะช่วยให้อาการเกร็งตัวของกระเพาะปัสสาวะคลายตัวลง

8. นั่งสมาธิ ได้ไม่ดี

การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงได้พูดเตือนหลวงพ่อไว้ว่า หลวงพ่อทัตตะ การอั้นปัสสาวะนานๆ ต่อไปจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย แล้วฝึกสมาธิไม่ก้าวหน้า คำเตือนของซึ่งเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมของพวกเราอย่างมหันต์

ผลเสียของการ อั้นอุจจาระ (อั้นขี้) นานๆ

ลักษณะเฉพาะของอุจจาระที่สำคัญ มี ๒ อย่าง คือ

๑. มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว มันไม่ได้แข็งโป๊ก เหมือนอย่างลูกกระสุนยิงนก แล้วมันก็ไม่ใช่เหลวเละจน ปั้นก้อนไม่ติด ลักษณะของอุจจาระที่ปกติคือกึ่งแข็งกึ่งเหลว

๒. มีกลิ่นเหม็น แต่ไม่มีกลิ่นเน่า กลิ่นเหม็นกับกลิ่นเน่ามันต่างกัน กลิ่นเหม็นเป็นธรรมดาของอุจจาระ เหม็นเพราะมีแก๊สเจือปน เช่น แก๊สบิวเทน และแก๊สมีเทน แต่ว่ากลิ่นเน่าอีกอย่างหนึ่ง ขอให้สีงเกตุกลิ่นอุจจาระในกระโถนขณะอุจจาระลงไปใหม่ๆ ในกระโถนนั่นแค่กลิ่นเหม็นแต่ถ้าทิ้งไว้ในกระโถน สักสองวัน นั่นกลิ่นอุจจาระเน่า

1. ของเสียเข้าเส้นเลือด

เมื่อมีอาการปวดอุจจาระ แล้วเราอั้นเอาไว้นานๆ น้ำที่ปนอยู่ในอุจจาระซึ่งทำให้อุจจาระมีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว จะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในเส้นเลือดเช่นเดียวกับการอั้นปัสสาวะ ของเสียที่จะต้องขับทิ้ง ถูกดูดซึมกลับเข้าไปในเส้นเลือด ผลที่ตามมาเป็นลูกโซ่ก็คือโลหิตเสีย เลือดน้อย ตับร้อน ไตร้อน โรคภูมิแพ้ กลิ่นตัวแรง เป็นต้น

2. ท้องผูกสลับท้องเสีย

การอั้นอุจจาระเอาไว้นานๆ น้ำจากอุจจาระจะถูกดูดซึมกลับ เข้าไปในเส้นเลือด อุจจาระจึงแข็งถ่ายออกยาก ดีไม่ดีต้องแคะออกเพราะว่ามันค้างอยู่นาน อุจจาระที่แข็งมาก เมื่อพยายามถ่ายออกมาก็จะไปครูดกับผิวของทวารหนัก นี่คือที่มาของโรค ริดสีดวงทวารหนัก

อุจจาระแข็งที่ถูกอั้นเอาไว้หลายวัน จะถูกแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้เข้าไปกิน แล้วก็ขับสารพิษ (Toxic) ออกมา ทำให้อุจจาระเน่าและเกิดอาการท้องเสีย ขับถ่ายพรวดพราดออกมา กลิ่นเหม็นเน่ามาก เพราะฉะนั้นใครที่มีอาการเดี๋ญวก็ท้องผูก เดี๋ยวก็ท้องเสียสลับกัน พึ่งรู้เถิดว่าสาเหตุหนึ่งคือการอั้นอุจจาระนาน ส่วนโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความประมาทของผู้นั้น ....




THAIWARE Dharma | นำข้อมูลบทความออก !  นำข้อมูลออกพิมพ์ !

THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออก โดยการพิมพ์ (Print Article by Printable View)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ MS.Word (Export Article to MS.Word)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ ไฟล์เอกสาร PDF (Export Article to PDF Format Document)
 

THAIWARE Dharma | กลับสู่หน้าแรก ไทยแวร์ธรรมะ
 

 

 

 

  THAIWARE Dharma | ส่งความคิดเห็นจากทางบ้าน !
หัวข้อ เนื้อหา ข้อตกลง
  ความคิดเห็น* :

หมายเหตุ : กรอกรายละเอียดของบทความเข้าไป (ไม่รับ HTML Code) สามารถกด Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  ห้ามโพสข้อความ !

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ

  ที่ส่อไปทางลามก อนาจาร หรือผิดศีลธรรม

  ที่ถือเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย

  ที่เป็นความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ผิดต่อ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  ชื่อ / อีเมล์* :

หมายเหตุ : "นาย สมชาย รักธรรม" หรือ "somchai.r@gmail.com"
  รหัสยืนยัน* :

 
ฉันยอมรับข้อตกลงที่กล่าวมา ภายในหน้านี้ ทั้งหมด