ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 

 

รวมลิ้งค์ เว็บไซต์ธรรมะ ที่น่าสนใจ
  THAIWARE Dharma | รายละเอียด บทความ บทสวด บทคาถา ธรรมะ
เลือกขนาดตัวอักษร ขนาดตัวอักษร :  ก   ก   ก   ก 

เห็นธรรมคืออะไร ?

 

    Share  
 

 

สพเพธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นสังขารและมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าตัวว่าตนของเรา สัพเพธัมมาคือ สังขารและมิใช่สังขาร สังขารคืออะไร สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจ รูปธรรม และนามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น การเห็นว่าร่างกายและจิตใจเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เรียกว่าเห็นธรรม เราก็อยู่กับกายกับจิตใจ ตั้งแต่เกิดมาจนถึงทุกวันนี้ เห็นตัวเอง คือ เห็นธรรม นี่เป็นจุดที่เราต้องพิจารณา ร่างกายและจิตใจบางทีก็อธิบายเป็นเรื่องของขันธ์ ๕ ซึ่งประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ร่างกายและจิตใจกับขันธ์ ๕ ก็เป็นเรื่องเดียวกัน

เราพิจารณาดูว่าขันธ์ ๕ คืออะไร

รูป คือ กาย หมายถึอายตนะภายใน แยกตามหน้าที่แล้วก็เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย อายต ภายนอก คือ รูปทางตา รูปทางหู รูปทางจมูก รูปทางลิ้น รูปทางกาย เช่น

ตา เห็นรูป สิ่งที่ถูกเห็นก็เป็นรูป เช่น ผลไม้ ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น

หู ฟังเสียง สิ่งที่ได้ยินก็เป็นรูป เช่น เสียงนก เสียงคน เป็นต้น

จมูก ดมกลิ่น สิ่งที่ถูกดมก็เป็นรูป เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ เป็นต้น

ลิ้น รู้รส สิ่งที่ถูกรู้รสก็เป็นรูป เช่น รสน้ำตาล รสมะนาว เป็นต้น

กาย สัมผัส สิ่งที่ถูกสัมผัสก็เป็นรูป เช่น พื้นผิวของไม้ พื้นผิวของผ้า เป็นต้น

เวทนา คือ เสวยอารมณ์ อารมณ์คืออะไร

อารมณ์ทางตา คือรูป

อารมณ์ทางหู คือ เสียง

อารมณ์ทงจมูก คือ กลิ่น

อารมณ์ทางลิ้น คือ รส

อารมณ์ทางกาย คือ สัมผัส

อารมณ์ทางใจ คือ ธรรมรมณ์

เสวยคือ เกิดความรู้สึก ซึ่งมีได้ ๓ อย่างคือ

รู้สึกสุข เรียกว่า สุขเวทนา

รู้สึกทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา

รู้สึกเฉยๆ เรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา

เวทนาเกิดขึ้นได้จาก ๖ ทาง คือ

จากการเห็นแล้วเกิดความรู้สึกทางตา
จากการได้ยินแล้วเกิดความรู้สึกทางหู
จากการได้กลิ่นแล้วเกิดความรู้สึกทางจมูก
จากการรับรสแล้วเกิดความรู้สึกทางลิ้น
จากการสัมผัสแล้วเกิดความรู้สึกทางกาย
จากการรับรู้ทางใจแล้วเกิดความรู้สึกทางใจ

การเสวยอารมณ์ หรือ ความรู้สึกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีได้ ๕ อย่าง คือ

๑. ความรู้สึกสุขทางกาย
๒. ความรู้สึกทุกข์ทางกาย
๓. ความรู้สึกสุขทางใจ (โสมนัส)
๔. ความรู้สึกทุกข์ทางใจ (โทมนัส)
๕. อทุกขมสุขมหรือความรู้สึกเฉย

สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ คือ รู้ความหมาย เมื่อตาเห็นรูป ถ้าสัญญาทำงานก็รู้อยู่ว่าอะไรเป็นอะไร เช่น เป็นพ่อ แม่ เพื่อน ต้นไม้ รถยนต์ สถานที่นี้เป็นพุทธคยา เป็นต้น ถ้าสัญญาไม่ทำงานก็เห็นรูปเฉยๆ แยกแยะไม่ได้ว่าเป็นอะไร บัญญัติไม่ได้ว่าเป็นอะไร เพียงแต่เห็นเป็นสีเฉยๆ สัญญาคือ จำได้ ถ้าไม่มีสัญญา หูได้ยินเสียง ก็เป็นเสียงอย่างเดียว จำแนกไม่ได้ว่าเป็นเสียงคน เสียงนก เสียงสวดมนต์ ภาษาบาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย ถ้าสัญญาทำงานเราก็จะรู้ว่าเสียงที่ได้ยินนี้ คือเสียงอะไร เมื่อจมูกได้กลิ่น เมื่อลิ้นรับรส เมื่อกายรับสัมผัส และเมื่อมีการรับรู้ทางใจ ก็เช่นเดียวกัน

สัญญา ที่เข้ามาในใจก็มีหลายอย่าง รู้ว่าน้อยใจ เสียใจ กลัว โกรธ อิจฉา สัญญาในอดีตที่เข้ามา เหตุการณ์ต่างๆ ที่เคยเป็นทุกข์ ถ้ายึดก็เกิดทุกข์ เกิดความนึกคิดปรุงแต่งเป็นกิเลส ถ้าเรารู้เท่าทันสัญญาก็ปล่อยวางไป ไม่ยึดก็เป็นเพียงสัญญา เป็นสัญญาที่ไม่ทำให้เกิดตัณหา

สัญญา เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ในการเรียนหนังสือ การศึกษาธรรม สาธยายธรรม สวดมนต์ก็อาศัยสัญญากันทั้งนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา ใช้สัญญาชีวิตเรานี้ทำอะไรก็ได้โดยใช้สัญญา ทำความดีก็ได้สัญญา ที่เข้ามาในใจเรานี้ก็มีหลายอย่าง โดยเฉพาะเราก็ระมัดระวังสัญญา ความจำได้ในอดีตที่เข้ามา ถ้าเรายึดแล้วก็จะเกิดกิเลสนึกคิดปรุงแต่งในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ อย่างไรก็ตามเราคอยสังเกตสัญญา

สังขาร คือ ความนึกคิดปรุงแต่ง โดยอาศัยเวทนาและสัญญาเป็นปัจจัยแล้วก็ยึด แล้วก็นึกคิด เอาสัญญามานึกคิดปรุงแต่ง โดยมากเราก็มักนึกคิดปรุงแต่งตามตัณหา ปรุงแต่งในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ อารมณ์น้อยใจ ขี้อิจฉา ขี้กลัว ขี้โกรธ ความนึกคิดปรุงแต่งในการสร้างตัณหาก็ค่อนข้างมีมาก หรือว่าถ้าเรานึกคิดไปในทางสร้างสรรค์ก็มีอยู่เป็นจิตกุศลที่คิดเพื่อทำประโยชน์ก็มีอยู่ อันนี้เราก็ต้องคอยสังเกตเหมือนกัน

วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งในอารมณ์ รู้แจ้งทางตาก็เป็นเห็นรูป รู้แจ้งทางหูก็เป็นได้ยินเสียงวิญญาณรู้แจ้งทางจมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ลักษณะเดียวกัน

ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ ชีวิตของเราก็ผ่านไปหลายสิบปีหรือถ้าตั้งแต่อเนกชาติ จิตของเรานี้ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสารนับไม่ถ้วน ขันธ์ ๕ อันนี้ อาจจะเคยเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นเปรต ยักษ์ สัตว์นรก จิตของเราก็อยู่ด้วยขันธ์ ๕ อยู่อย่างนี้มาตลอด ถ้าใคร “เห็นธรรม” ก็คือ เห็นขันธ์ ๕ คือ ไม่เห็นตัวเอง น่าคิด เปรียบเหมือนปลาอยู่ในน้ำอยู่ในน้ำมาตลอดชีวิตจนตายลงในน้ำ ปลาไม่เห็นน้ำ

จิตของเราที่มีอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็เป็นเหมือนปลา จิตของเรานี้เหมือนปลา ทั้งที่เกิดในน้ำ อยู่ในน้ำจนตลอดชีวิต แล้วก็ตายลงในน้ำก็ตามปลาไม่เห็นน้ำ จิตของเราที่มี อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ท่องเที่ยว วัฏสงสารด้วยขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จนถึง วันนี้ จิตของเราส่วนใหญ่ก็เป็นเหมือนปลา ดวงตาเห็นธรรม “ธรรม’ ที่ต้องเห็นไม่ใช่อยู่นอกตัวเรา จริงๆ แล้วอยู่กับเราทุกคน

มนุษย์ ๖,๕๐๐ ล้านคน รวมทั้งสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ สัตว์นรก หรือเป็นเทวดา ก็ล้วนอยู่ด้วยขันธ์ ๕ กันทั้งนั้น แต่จิตของเราเหมือนปลาทำอย่างไรเราจึงจะเห็นขันธ์ ๕ เห็นตัวเองได้นี่คือ การปฏิบัติธรรมของเรา

สมมุติเต่าเจ้าปัญญา เกิดบนบกแล้วก็สักวันหนึ่งไปเที่ยวในน้ำ ไปดูชีวิตของปลาในน้ำ เป็นอย่างไรบ้าง เต่าก็เที่ยวลงไปในน้ำเห็นกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ แล้วกลับมาบนบก แล้วก็มองย้อนกลับไปดูน้ำ เต่าเจ้าปัญญาก็คิดได้ว่า เราไม่ใช่น้ำ น้ำไม่ใช่เรา เราไม่ได้อยู่ในน้ำ น้ำไม่ได้อยู่ในเรา สมมุติเต่าเจ้าปัญญาคิดได้มีความเห็นอย่างนี้ก็เรียกว่า เต่าเจ้าปัญญาเห็นน้ำ เข้าใจน้ำ รู้ตามความเป็นจริงของน้ำว่า น้ำก็สักแต่ว่าน้ำ จิตของเราทำอย่างไรจึงจะทำให้จิตของเราที่เป็นเหมือนปลามีวิวัฒนาการเป็นเต่าเจ้าปัญญาได้

เห็นธรรม คือ เห็นขันธ์ ๕ เห็นกายกับใจ ความรู้สึกต่างๆ ที่เราประสบการณ์อยู่ คือ เห็นตัวเอง ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตใจของเราที่เป็นปลาให้เป็นเต่าเจ้าปัญญา คือ เห็นตามความจริงว่า เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ได้อยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ได้อยู่ในเรา ถ้าเราเห็นขันธ์ ๕ ได้อย่างนี้ก็เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม

ที่นี้เราจะปฎิบัติอย่างไรจึงจะดวงตาเห็นธรรมได้ เห็นธรรมคือ เห็นตัวเอง เห็นขันธ์ ๕ เห็นอย่างไร ก็เห็นเป็นอนัตตา เห็นว่าไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ขันธ์ ๕ เห็นอย่างไร ก็เห็นเป็นอนัตตา เห็นว่าไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ขันธ์ ๕ เป็นแต่เพียงขันธ์ ๕ เกิดขึ้น ตัวอยู่ ดับไปเป็นไตรลักษณ์

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่ออุปทานขันธ์ ๕ ดับแล้ว จิตของเรานี้ก็จะสัมผัสสิ่งที่ไม่ใช่สังขาร คือ นิพพาน เมื่อเราต้องการเห็นนิพพานก็ต้องเห็นตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ที่เรามีอุปทานยึดมั่นถือมั่น เมื่อเราสามารถดับอุปทานขันธ์ ๕ ได้เพียงแต่ชั่วขณะหนึ่งก็เป็น ดวงตาเห็นธรรม ที่นี้การปฏิบัติอย่างไร จึงจะเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ ก็เป็นสิ่งที่เราก็ต้องศึกษา ต้องปฏิบัติ

ที่เรามาสาธยายพระไตรปิฎกกันอยู่นี้ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนเข้ามาปรินิพพาน ๔๕ ปี แล้วพระธรรมนี้ก็ถูกจารึกไว้เป็นพระไตรปิฎกที่เรานำมาสาธยายกั มีทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือ พระธรรมเทศนา อย่างไรก็ตาม ธรรมสำคัญที่ผู้เจริญวิปัสสนาต้องศึกษาคือ โพธิปักขิกยธรรม ๓๗ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นฝ่านกุศล เป็นองค์ธรรมเพื่อการตรัสรู้ เพื่ออริยมรรค อริยผล และพระนิพพาน ดังนั้น ถ้าเราต้องการปฏิบัติเพื่อดวงตาเห็นธรรม เราก็ต้องศึกษาโพธิปักขิกยธรรม ๓๗ ข้อ ธรรม ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ สรุปย่อในโพธิปักขิกยธรรม ๓๗

การปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิกยธรรม ๓๗ ก็ต้องศึกษาธรรมในหมวด สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่สำคัญที่สุด ซึ่งพระพุทธเจ้ายืนยันว่าการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น ที่จะทำให้จิตใจของเราบริสุทธิ์ได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติธรรมต้องศึกษาและปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งหมายถึง กายกับใจ ไม่ใช่เรื่องนอกตัว ไม่ใช่เรื่องอะไรพิเศษ เพียงกายกับใจ ถ้าพูดให้ละเอียดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ คือการเจริญสติ กับ กาย เวทนา จิต และธรรม




THAIWARE Dharma | นำข้อมูลบทความออก !  นำข้อมูลออกพิมพ์ !

THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออก โดยการพิมพ์ (Print Article by Printable View)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ MS.Word (Export Article to MS.Word)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ ไฟล์เอกสาร PDF (Export Article to PDF Format Document)
 

THAIWARE Dharma | กลับสู่หน้าแรก ไทยแวร์ธรรมะ
 

 

 

 

  THAIWARE Dharma | ส่งความคิดเห็นจากทางบ้าน !
หัวข้อ เนื้อหา ข้อตกลง
  ความคิดเห็น* :

หมายเหตุ : กรอกรายละเอียดของบทความเข้าไป (ไม่รับ HTML Code) สามารถกด Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  ห้ามโพสข้อความ !

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ

  ที่ส่อไปทางลามก อนาจาร หรือผิดศีลธรรม

  ที่ถือเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย

  ที่เป็นความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ผิดต่อ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  ชื่อ / อีเมล์* :

หมายเหตุ : "นาย สมชาย รักธรรม" หรือ "somchai.r@gmail.com"
  รหัสยืนยัน* :

 
ฉันยอมรับข้อตกลงที่กล่าวมา ภายในหน้านี้ ทั้งหมด