ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 

 

รวมลิ้งค์ เว็บไซต์ธรรมะ ที่น่าสนใจ
  THAIWARE Dharma | รายละเอียด บทความ บทสวด บทคาถา ธรรมะ
เลือกขนาดตัวอักษร ขนาดตัวอักษร :  ก   ก   ก   ก 

อินทรีย์สังวรศีลทำให้เกิด วิปัสสนาปัญญาหรือไม่

 

    Share  
 

 

อินทรีย์สังวรศีล คือ ไม่ยินดี ยินร้าย ต่อการรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมรมณ์ โดยการตั้งเจตนาในการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิปัสสนา ปัญญา คือ ไม่ยินดี ยินร้าย ต่อการรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ โดยเป็นไปเองตามธรรมชาติของจิตที่รู้เท่าทัน ดังนั้น อินทรีย์สังวรศีลจึงเป็นวิปัสสนา แต่คุณภาพจิตต่างกัน

อินทรีย์สังวรศีล คือ ไม่ยินดียินร้าย ตั้งเจตนาสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้นรส สัมผัส หรือใจรับรู้อะไร ก็ตาม ก็ไม่ส่งจิตคิดออกไป เป็นอารมณ์ ยินดี ยินร้าย ไม่คิดปรุงแต่งตามกิเลสตัณหา จนเกิดเป็นอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ ทำใจเป็นปกติ หนักแน่น ตั้งเจตนาถูกต้อง เรียกว่าศีลถึงใจ ในเป็นศีล มีหิริ (ละอายแก่ใจ) โอตัปปะ (เกรงกลัวบาป) เกิดขึ้นที่ใจเป็นอินทรีย์สังวรศีลสมบรูณ์

อินทรีย์สังวรศีลจะสมบรูณ์ได้ต้องอาศัยสมาธิปานกลาง อาศัยปัญญาพอประมาณ หมายความว่า การจะรักษาใจเป็นศีลได้ ต้องมีสมาธิเป็นเครื่องสนับสนุน มีกำลังของสมาธิที่จะช่วยให้จิตใจสงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องประสบกับเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เช่น เมื่อร่างกายเจ็บป่วย ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การจะรักษาใจสงบ ไม่หวั่นไหว อดทนได้ ทำใจดีได้ ก็ต้องอาศัยกำลังสมาธิพอสมควร

อินทรีย์สังวรศีลจะสมบรูณ์ ได้ต้องอาศัยปัญญาพอประมาณ เพราะปัญญาเป็นเครื่องนำทาง หากไม่มีปัญญารู้จักคิดดีคิดถูกแล้ว ก็จะไม่เห็นโทษของการไม่มีศีล ไม่เห็นอานิสงส์ของการรักษาศีลว่าทำให้มีความสุข ความสบายใจ ต้องมีปัญญาที่เข้าใจในกฎแห่งกรรมจึงจะรักษาใจเป็นศีล เป็นปกติ หนักแน่นได้โดยไม่หวั่นไหวกับโลกธรรม ๘

สมาธิสิกขาสมบรูณ์ ต้องมีศีลสมบรูณ์ และปัญญาปานกลางหมายความว่า ศีลถึงใจ ในเป็นศีล มีจิตใจหนักแน่น ไม่ยินดียินร้ายต่อสัมผัสทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตบริสุทธิ์ในขั้นสมาธิแล้ว อินทรีย์สังวรศีลก็จะเป็นไปเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องตั้งเจตนาที่จะสำรวมระวัง อินทรีย์สังวรศีลสมบรูณ์แล้วเท่านั้น จึงจะเกิดสัมมา – สมาหิโต เป็นสมาธิจิตตั้งมั่น กรรมนิโย เป็นจิตที่คล่องแคล่วพร้อมแก่การใช้ปัญญาพิจารณาธรรม ต่อไป

ปัญญาสิกขาสมบรูณ์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สมบรูณ์หมายความว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ สมบรูณ์ เกิดดวงตาเห็นธรรม รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์จิตจึงถอนจากอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ คือ เห็นตามความเป็นจริงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สติ สัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในระดับวิปัสสนาปัญญา เปรียบเหมือน เป็นทำนบกั้นกระแสแห่งอกุศลมูล คือ ความโลภ(ราคานุสัย) ความโกรธ (ปฏิฆานุสัย) และ ความหลง (อวิชชานุสัย) ไม่ให้เข้ามาครอบงำจิต อีกต่อไป

ในการปฏิบัตินั้น แต่ละคนอาจจะเริ่มต้นแตกต่างกัน เริ่มที่ศีล เริ่มที่ปัญญา หรือเริ่มที่ฝึกสมาธิก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเริ่มต้นที่ไหนการปฎิบัติจริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติวิธีไหน ทุกวิธีก็ต้องเป็นการปฎิบัติเพื่อให้เกิดอินทรีย์สังวรศีลทั้งสิ้น จึงจะเป็นการปฎิบัติไม่ผิดการเจริญวิปัสสนาไม่ว่าปฎิบัติอย่างไร ด้วยวิธีไหนก็ต้องผ่านจุดนี้เพื่อจะเป็นพื้นฐานในการเจริญสติ (ศีล) สมาธิ ปัญญาในระดับสูงต่อไป

สรุปตามหลักไตรสิกขา ก็คือ

ไพเราะเบื้องต้น (อาทิกัลยาณัง) คือ ศีล
ไพเราะในท่ามกลาง (มัชเฌกัลยาณัง) คือ สมาธิ
ไพเราะในที่สุด (ปะริโยสานะกัลยาณัง) คือ ปัญญา
ศีล เป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ
สัมมาสมาธิ เป็นพื้นฐานให้เกิด ปัญญา
เมื่อศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิต
ก็เกิดญาณทัศนะ คือดวงตาเห็นธรรม




THAIWARE Dharma | นำข้อมูลบทความออก !  นำข้อมูลออกพิมพ์ !

THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออก โดยการพิมพ์ (Print Article by Printable View)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ MS.Word (Export Article to MS.Word)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ ไฟล์เอกสาร PDF (Export Article to PDF Format Document)
 

THAIWARE Dharma | กลับสู่หน้าแรก ไทยแวร์ธรรมะ
 

 

 

 

  THAIWARE Dharma | ส่งความคิดเห็นจากทางบ้าน !
หัวข้อ เนื้อหา ข้อตกลง
  ความคิดเห็น* :

หมายเหตุ : กรอกรายละเอียดของบทความเข้าไป (ไม่รับ HTML Code) สามารถกด Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  ห้ามโพสข้อความ !

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ

  ที่ส่อไปทางลามก อนาจาร หรือผิดศีลธรรม

  ที่ถือเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย

  ที่เป็นความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ผิดต่อ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  ชื่อ / อีเมล์* :

หมายเหตุ : "นาย สมชาย รักธรรม" หรือ "somchai.r@gmail.com"
  รหัสยืนยัน* :

 
ฉันยอมรับข้อตกลงที่กล่าวมา ภายในหน้านี้ ทั้งหมด