ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 

 

รวมลิ้งค์ เว็บไซต์ธรรมะ ที่น่าสนใจ
  THAIWARE Dharma | รายละเอียด บทความ บทสวด บทคาถา ธรรมะ
เลือกขนาดตัวอักษร ขนาดตัวอักษร :  ก   ก   ก   ก 

2 สิ่ง ที่ทำให้เกิด "ความสง่า"

 

    Share  
 

 

บางคนใส่เสื้อผ้าน่ารักๆ แต่งตัวดูดี แต่คนเหล่านั้น พออยู่ใกล้แล้ว กลับไมได้รู้สึกดีด้วยเลย เราได้เพียงแค่รู้สึกดีที่ดูด้วยดวงตา แต่เมื่อดูด้วยใจเรากลับพบกับสิ่งที่ไม่เห็นสวย ไม่เห็นดี ไม่เห็นมีอะไรน่ามองเลยสักอย่าง ไม่มีความงดงามเอาเสียเลย แต่บางคน แม้ไม่ได้แต่้งตัวเลย อาจจะดูธรรมดา เรียบ ๆ แต่เพราะอะไรมองแล้ว ถึงรู้สึกว่าทำไมเราปลื้มคนคนนี้จัง

คำตอบก็คือ

โบราณสอนว่า

"คนจะงาม งามที่ใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา(นิสัย) ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต"


ในพระพุทธศาสนา ท่านสอนว่า หากคนเรา มีสิ่ง 2 สิ่งต่อไปนี้ จะเรียกได้ว่า "เป็นคนสวย" , "เป็นคนงาม" , "เป็นคนสง่า ", เป็นคนน่ารัก" , เป็นคนน่ามอง

หรือเป็นแม้แต่ไอดอลของคนทั่วไป แม้ว่าจะมีทรงผมกระเซอะกระเซิง ไม่ได้แต่งหน้า ไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ ใส่ แต่คนที่มองแล้วกลับรู้สึกชื่นใจ ชอบใจ และรู้สึกดี บางครั้ง สิ่งนี้อาจทำให้คนที่เห็นหรือแม้แต่ได้ยินศรัทธาในตัวเรา และขนลุกได้

2 สิ่งนั้นคือ สิ่งที่เรียกว่า "ขันติ" และ "โสรัจจะ"

ขันติ ในภาษาไทยเราใช้คำว่า ความอดทน แต่คำว่าอดทนนี้ฟังแล้วดูเหมือนว่าเราช่างพบเจอกับเรื่องหนักเสียเหลือเกินจึงต้องอดทน แต่ที่จริงแล้ว ความหมายตามตัวในพระบาลีนั้น คำว่าขันติ ท่านแปลว่า "ความใจเย็น" , "ความไม่ใจร้อน" , "ความเย็นใจ" , "ความชื่นใจ" , "ความไม่ดุร้าย" , ความไม่ปากร้าย" , "ความไม่เกรี้ยวกราด"

หรือเรียกได้ว่า ความมีอารมณ์แจ่มใส ไม่ทำอะไรให้เครียด นี้ก็เข้าในความหมายของขันติได้

คนที่มีขันติ จะเป็นคนที่ผู้อื่นศรัทธา เพราะโดยปรกติแล้ว เราไม่ค่อยได้เห็นว่าใครเป็นคนที่ดีจริง จนกว่าเราจะได้เห็นเขาอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง เช่น สถานการณ์กดดัน หรือถูกต่อว่า หรือพบกับเรื่องขัดใจ หากในสถานการณ์แบบนั้น ใครสักคนแสดงให้เราเห็น หรือเราแสดงให้ใครเห็นได้ว่า สบายๆ กับเรื่องนั้นๆ ไม่เครียด ไม่ด่าตอบ ไม่ว่าตอบ ไม่โกรธตอบ เขาใส่อารมณ์มา ไม่ใส่อารมณ์กลับ ภายในไม่กี่วันเท่านั้น ความดีตรงนี้จะถูกกระจายไปปากต่อปาก และไม่นานเลย เราก็จะเป็นที่รักของคนหลายๆ คน และหากเรารักษาความดีนี้ไว้ได้เสมอต้นเสมอปลาย ทุกๆ วัน ทุกๆ เวลา เราก็จะมีความสุขและความสบายใจอยู่ทุกเวลา

ถ้าใจเย็นไม่เป็น ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่อดทน สิ่งที่จะได้รับก็คือ

1. ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก

2. ย่อมเป็นผู้โหดร้าย

3. ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน (ตรงกันข้าม คนที่ใจเย็นสุขุมจริง ย่อมไม่เดือดร้อนกับเรื่องอะไรเลย)

4. ย่อมเป็นผู้หลงก่อนสิ้นใจ (เช่น เห็นอกุศลนิมิตที่น่ากลัวก่อนตาย)

5. เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายโทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

(อขันติสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=5938 )

สำหรับข้อที่ 2 "โสรัจจะ"

คำว่าโสรัจจะนั้น มีความหมายว่า "ความสงบเสงี่ยม"

แต่ความสงบเสงี่ยมนี้ ไม่ได้แปลว่า "นิ่ม" ในสายตาของใครๆ แต่ตามความหมายจากพระไตรปิฎกวิภังค์ หมายถึง "การไม่ล้ำขอบเขต" , "การไม่ล่วงเลยเขตแดน" ทางการการแสดงออกและคำพูด (ทางกายและวาจา) เพราะถ้าได้เลยขอบเขตออกไปแล้ว จะเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจหรือมีโทษทันที

การไม่ล่วงเลยเขตแดนโดยหลักใหญ่ มีทางการแสดงออก 3 และทางคำพูด 4 ค่ะ นั่นคือ

ทางกาย ได้แก่

1. การฆ่าสัตว์ หรือแม้แต่การทำร้ายสัตว์หรือสิ่งมีชีวต บางทีอาจจะไม่ฆ่า แต่ก็แกล้งให้เขาเดือดร้อนแบบต่างๆ ฆ่าสัตว์ใหญ่ืถือว่าใจร้าย ฆ่าสัตว์เล็กถือว่าใจดำ จิตใจที่สูงส่ง และมีความสง่า ลักษณะแรกที่ต้องมีประจำคือ "ความรัก" ความเอ็นดู ยิ่งถ้าไม่ทำร้ายสัตว์ตัวเล็ก ๆ สักตัว ก็แปลได้ว่าจิตใจเราออกจากการทำลายชีวิตของใครแล้ว พอเราไม่ทำลายชีวิตใคร ชีวิตของเราก็จะได้รับแต่สิ่งดี ๆ จิตที่ขาวพาขึ้นที่สูง จิตที่ดำพาลงที่ต่ำ การทำร้าย การฆ่า หรือแม้แต่การเอา่มือตบ เอามือบี้ แสดงว่าจิตแสดงความเห็นแก่ตัวออกมา และเป็นสีดำ สีดำไม่เคยให้ความสว่างกับใครเลย

2. การขโมยของ

3. การเกินเลยกับคนรักคนอื่น

สามข้่อนี้ให้ท่องไว้ในใจว่า ฆ่าสัตว์ในดำ ขโมยของสกปรก เป็นชู้น่ารังเกียจ

ทางคำพูดได้แก่

1. พูดโกหกทุกอย่าง แม้แต่คำล้อเล่นก็ไม่ได้ (อ้าง:ม.ม.๑๒๗) เราคงไม่ชอบใครที่มาโกหกกับเรา ไม่ว่าเป็นเพื่อน หรือเป็นแฟน เพราะคำโกหก มันทำให้คนคนนั้นไม่มีตัวตนอีกเลย

2. นินทา การนินทานี้ก็มีสองเหตุผล คือ นินทาเพราะอยากให้เค้าแตกแยกกันเพราะไม่ชอบจริงๆ กับนินทาเพราะจ้องจะเอาใจว่าเราเป็นพวกเค้าก็เลยนินทาอีกฝ่ายให้ฟัง ทั้งสองข้อนี้ ทำให้เราสกปรกมากๆ

3. การพูดคำหยาบ แบ่งออกเป็น พูดคำหยาบเพราะโกรธจริงๆ อยากจะด่าออกไป กับพูดจาใช้คำคะนอง ฟังแล้วไม่น่าฟัง

4. พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ รวมไปถึง พูดไม่ถูกเวลา พูดพร่ำเพรื่อ พูดไม่มีที่สุดหรือไม่รู้จบ พูดลอยๆ แบบไม่คิด ขาดเหตุผล ก็รวมอยู่ในข้อนี้

หากเพื่อนๆ ค่อยๆ สังเกตุทีละข้อ เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ข้อ หากใครทำลงไปก็จะทำให้คนคนนั้นดูไม่น่าชอบเอาเสียเลย คงไม่มีใครอยากอยู่กับคนที่พูดมากทั้งวัน หรืออยู่กับคนที่นินทาคนอื่น เป็นต้น

แต่ขยายออกไปกว่านั้น คำว่า "สงบเสงี่ยมนี้ รวมไปถึงการไม่คะนองมือคะนองเท้า เช่น นั่งกระดิกเท้า การไม่ทำตัวตลก การไม่เล่น การไม่โยกหัวเอียงคอไปมา หรืออาการคะนองอื่นๆ ที่เรามองได้ว่า เป็นอาการคะนอง

ทั้งหมดนี้ เรียกว่า "โสรัจจะ" ผลของการมีโสรัจจะนี้ ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อเราอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านจะมองเด็กที่มีสัมมาคารวะ และมีความไม่คึกคะนองว่าเป็นคนดี และท่านจะเอ็นดู หากเป็นคนรุ่นเดียวกัน เค้าก็จะให้เกียรติกับเรา และหากเป็นรุ่นน้องๆ ลงไป เค้าก็จะเคารพนับถือเรา และปลื้มเรา

และนอกจากขันติและโสรัจจะ ยังมีธรรมอีกสองข้อที่ทำให้เราพบเจอความสิ่งดี ๆ และงามสง่าได้อีก คือ การใช้คำพูดอ่อนหวาน และการต้อนรับแขก ทั้งการต้อนรับแขกจริง ๆ เช่นการรินน้ำให้ดื่ม หรือการกล่าวคำทักทาย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้จิตใจเราสะอาด ส่งผลให้เกิดความรู้สึกดีต่อกันได้ และลดอัตตา ทิฎฐิ ลดความกระด้างของจิตจากความหยิ่งที่จะมีต่อกันได้ เพราะเกิดความเกรงใจซึ่งกันและกัน

โดยในพระไตรปิฎกท่านแสดงว่าดังนี้

"[๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ

[๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒อย่างนี้แล ฯ"

ขันติ และโสรัจจะนี้ เป็นธรรมที่ทำให้งาม หรือ เรียกว่า เป็นสิ่งที่ให้บุคคลเป็นผู้งามสง่า รวมไปถึงธรรมอีกสองข้อคือการกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ทำให้ผู้ทำได้อย่างนี้เป็นคนที่น่าศรัทธา น่ารักใคร่ อยู่ใกล้แล้วเย็นใจ น่าปลื้มใจ ทั้งเป็นการฝึกตนในทางกาย และวาจา เพื่อให้บริสุทธิ์ไร้มลทิน เป็นบาทของการขัดเกลากิเลสขั้นสูงในการวิปัสสนาเพื่อให้พ้นจา่กสิ่งที่ทำให้จิตใจหม่นหมอง ขัดเกลาจิตใจให้จิตบริสุทธิ์ มีแต่ใจที่บริสุทธิ์ต่อไปกับทุกคนและตนเอง



***********************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2461&Z=2507


เสริมในส่วนของการพูด

การพูดที่เหมาะสม ไม่ควรพูดไร้สาระและพูดเล่นด้วยคำไม่จริง เพราะทำให้จิตหลงอารมณ์ หลงความสนุก เป็นจิตที่หวั่นไหวไปในอารมณ์ง่าย ไม่สงบ และทำมาก ๆ จะส่งผลให้มีความกระวนกระวาย (หากไม่เชื่อลองพูดเล่นตลอด จะรู้สึกได้เองว่า รู้สึกแย่ ๆ ยังไงบอกไม่ถูก เพราะจิตเริ่มไม่ทรงตัวในทางสติและในทางดีแล้ว)

การพูดที่ดี -

ชื่อว่า นิธานวตี.. อธิบายว่า กล่าวคำพูดอันควรจำไว้ในหทัย.

ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูดถูกกาลอันควร. อธิบายว่า พูดในเวลาที่สมควรจะูพูด.

บทว่า เนลา กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ โทษท่านเรียกว่าเอลา. ชื่อว่า เนลา เพราะวาจาไม่มีโทษ. ดุจ เนลา ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถานี้ว่า เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท ไม่มีโทษ (บริสุทธิ์) คลุมด้วยผ้าขาว. (1)


"ไม่มีบาปกรรมใด ที่คนไม่ละอายที่จะพูดโกหก จะทำไม่ได้

เพราะเหตุนั้นแล้ว ราหุล เธอจงศึกษาว่า เราจะไม่กล่าวมุสา แม้เพราะจะให้หัวเราะกันเล่น เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล"
[i]
ม.ม.๑๒๗[i] (2)


*********************

(1) http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=29&A=4612
(2) http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=2383




THAIWARE Dharma | นำข้อมูลบทความออก !  นำข้อมูลออกพิมพ์ !

THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออก โดยการพิมพ์ (Print Article by Printable View)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ MS.Word (Export Article to MS.Word)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ ไฟล์เอกสาร PDF (Export Article to PDF Format Document)
 

THAIWARE Dharma | กลับสู่หน้าแรก ไทยแวร์ธรรมะ
 

 

 

 

  THAIWARE Dharma | ส่งความคิดเห็นจากทางบ้าน !
หัวข้อ เนื้อหา ข้อตกลง
  ความคิดเห็น* :

หมายเหตุ : กรอกรายละเอียดของบทความเข้าไป (ไม่รับ HTML Code) สามารถกด Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  ห้ามโพสข้อความ !

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ

  ที่ส่อไปทางลามก อนาจาร หรือผิดศีลธรรม

  ที่ถือเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย

  ที่เป็นความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ผิดต่อ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  ชื่อ / อีเมล์* :

หมายเหตุ : "นาย สมชาย รักธรรม" หรือ "somchai.r@gmail.com"
  รหัสยืนยัน* :

 
ฉันยอมรับข้อตกลงที่กล่าวมา ภายในหน้านี้ ทั้งหมด